ข้อควรรู้! ยางรถระเบิดเกิดจากอะไร? พร้อมวิธีรับมือ

Last updated: 15 ส.ค. 2567  |  6117 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ยางระเบิดเกิดจากอะไร รวมสาเหตุและวิธีป้องกัน

ยางรถยนต์ถือเป็นอีกหนึ่งชิ้นส่วนที่เราต้องใส่ใจและให้ความสำคัญ เพราะถ้าหากตัวยางมีปัญหาหรือเกิดความเสียหายขึ้นมาในระหว่างการขับขี่ มันก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงจนเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ โดยเฉพาะเหตุการณ์ยางระเบิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับรถทุกคันทุกประเภท ดังนั้นวันนี้ APRTECH จึงได้รวบรวมสาเหตุและวิธีป้องกันยางรถระเบิด มาให้ทุกคนที่สนใจได้ลองอ่านและศึกษากันดูครับ

 

รถยางระเบิดเกิดจากอะไรได้บ้าง

1.เหยียบตะปูหรือของมีคมบนพื้นถนน

เหยียบตะปูบนพื้นถนน

ยางรถยนต์เป็นชิ้นส่วนที่ต้องสัมผัสพื้นถนนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งถ้าหากเราเผลอขับไปเหยียบตะปูหรือของมีคมเมื่อไหร่ มันก็อาจทำให้ตัวยางระเบิดหรือเกิดความเสียหายได้ หรือถ้าหากโชคดียางไม่ระเบิด คุณก็ควรรีบนำรถเข้าข้างทาง ประเมินความเสียหาย และรีบเปลี่ยนยางใหม่ให้ไวที่สุดครับ

หากพบปัญหาต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญยางรถยนต์ฟรี! ติดต่อที่ Line OA : @tiresbid (เติม@ได้เลยครับ)
Tiresbid เราเป็นแพลตฟอร์มตัวกลางยางมืออาชีพ กว่า 20 ยี่ห้อชั้นนำ พร้อมโปร ฯ พิเศษสุดเรื่องยางรถ

 

วิธีการป้องกันเบื้องต้น

  • หลีกเลี่ยงถนนขรุขระ หรือ พื้นที่ที่มีสิ่งกีดขวางอยู่บนถนน หากเลี่ยงไม่ได้ให้ใช้ความเร็วต่ำ ค่อย ๆ ขับผ่านไปเผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้เบรกหรือหยุดรถทัน
  • ขับรถในความเร็วที่กฎหมายกำหนด อย่าขับรถเร็วเกินไป แม้ถนนจะโล่งไม่มีรถก็ตาม

 

2.บรรทุกน้ำหนักเกินค่าที่กำหนด

รถยนต์ บรรทุกน้ำหนักเกินค่าที่กำหนด

ยางรถเป็นชิ้นส่วนที่ต้องรับภาระน้ำหนักของรถทั้งคันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งยางแต่ละประเภทต่างก็มีขีดจำกัดที่จะแบกรับน้ำหนักได้แตกต่างกันออกไป หากคุณบรรทุกสัมภาระเกินขนาดหรือมากเกินกว่าที่ยางจะรับไหว มันก็อาจส่งผลให้ยางระเบิดหรือเกิดความเสียหายได้ 

วิธีการป้องกันเบื้องต้น
  • ใช้รถให้ถูกประเภท อย่าใช้รถเก๋งหรือรถครอบครัวบรรทุกสัมภาระที่มากจนเกินไป 
  • บรรทุกของให้พอดี หลีกเลี่ยงการขนสัมภาระที่มากเกินความจำเป็น
  • หากต้องบรรทุกของหนักให้ใช้ความเร็วที่พอดี และต้องหลีกเลี่ยงถนนขรุขระหรือถนนที่เต็มไปด้วยอุปสรรค

 CTEK MXS 5.0

3.ตกหลุมอย่างแรง

ระวังการขับรถ ตกหลุมอย่างแรง

การขับรถตกหลุมอย่างแรงก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้รถยางระเบิด เพราะน้ำหนักของตัวรถและแรงกดทับทั้งหมดจะถ่ายเทมาที่ยาง ซึ่งมีโอกาสสูงที่แก้มยางจะบวมและเกิดระเบิด จนอาจกลายเป็นอุบัติเหตุได้ในที่สุด


วิธีการป้องกันเบื้องต้น
  • หลีกเลี่ยงเส้นทางที่เป็นหลุมเป็นบ่อ พยายามใช้เส้นทางอื่นหากเลือกได้
  • ไม่ควรขับรถเร็วจนเกินไป ใช้ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะบนเส้นทางที่เป็นหลุมเป็นบ่อ 
  • ชะลอความเร็วทุกครั้งเมื่อขับผ่านหลุมหรือเส้นทางขรุขระที่เต็มไปด้วยอุปสรรค

4.ลมยางแข็งหรืออ่อนเกินไป

ตรวจเช็กลมยางไม่ให้แข็งหรืออ่อนเกินไป

การที่ลมยางแข็งหรืออ่อนเกินไป ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ยางระเบิดได้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเติมลมยางให้เหมาะสมกับการใช้งานหรือตามมาตรฐานที่กำหนด ต้องคอยหมั่นตรวจเช็กสภาพยางเป็นประจำ อีกทั้งยังต้องเลือกใช้งานยางให้ถูกประเภท อย่านำยางรถประเภทอื่นมาใช้โดยไม่จำเป็น เพราะอาจส่งผลเสียต่อเนื่องได้ในระยะยาว

วิธีการป้องกันเบื้องต้น
  • ตรวจเช็กลมยางอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการใช้งานรถยนต์หากพบว่าตัวยางมีสภาพผิดปกติแตกต่างไปจากเดิม
  • อาจเลือกใช้งานเครื่องวัดลมยางแทนการพิจารณาด้วยสายตา เพื่อการวัดผลที่ถูกต้องและแม่นยำ

5.ยางเสื่อมหรือหมดอายุการใช้งาน

ดูแลไม่ให้ยางเสื่อมหรือหมดอายุ

รถยนต์เป็นยานพาหนะละเอียดอ่อนที่มีการเสื่อมสภาพอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นเรื่องปกติที่อะไหล่ทั่วทั้งคันจะเริ่มหมดอายุการใช้งานไปทีละชิ้น เช่น แบตเตอรี่ ที่ถ้าเผลอจอดรถทิ้งไว้นานเกินไป ก็อาจทำให้ตัวแบตเกิดเสื่อมสภาพ จนต้องเปลี่ยนแบตรถยนต์ใหม่ เป็นต้น ยางรถยนต์ก็ถือเป็นอีกหนึ่งชิ้นส่วน ที่มีการเสื่อมสภาพไปตามระยะทางและเวลาที่ใช้งาน หรือเกิดเสื่อมสภาพจากการจอดรถทิ้งไว้เป็นเวลานาน ซึ่งถ้าหากเราปล่อยทิ้งไว้นานไม่รีบเปลี่ยนยางใหม่ ก็มีความเป็นไปได้สูงที่ตัวยางจะเกิดระเบิดขึ้นในระหว่างการขับขี่ 

วิธีการป้องกันเบื้องต้น
  • หมั่นสังเกตและคอยตรวจเช็กสภาพยางอยู่เสมอ หากพบว่ายางมีรอยแตกลายงา ยางมีอาการบวม หรือดอกยางหมด ควรรีบเปลี่ยนใหม่ในทันที
  • เราควรเปลี่ยนยางใหม่ทุก ๆ 4 ปี แม้ตัวยางจะมีสภาพสมบูรณ์หรือยังดูไม่เก่า เพราะยางที่ใช้มานานอาจเกิดความเสียหายขึ้นได้ทุกเมื่อ

 

ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของยางระเบิด

นอกจากสาเหตุข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของยางระเบิดได้ เช่น

  • สภาพอากาศ ยางอาจระเบิดได้ง่ายในสภาพอากาศร้อนจัด เนื่องจากความร้อนจะทำให้ยางขยายตัวและอ่อนแอลง
  • พื้นผิวถนน ยางอาจระเบิดได้ง่ายบนพื้นผิวถนนที่ขรุขระหรือมีวัตถุแหลมคม
  • การบำรุงรักษาที่ไม่เหมาะสม การบำรุงรักษายางที่ไม่เหมาะสม เช่น การไม่เติมลมยางตามกำหนด การไม่ตรวจเช็คสภาพยางอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น อาจทำให้ยางเสื่อมสภาพและเสี่ยงต่อการระเบิดได้

      

วิธีรับมือเมื่อเกิดยางระเบิดเบื้องต้นระหว่างขับขี่

  1. เมื่อรู้ตัวว่ายางระเบิดให้ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนกหรือตกใจ รีบเช็กกระจกมองหลังว่ามีรถตามมาหรือไม่เพื่อประเมินความเสี่ยง
  2. ใช้สองมือจับพวงมาลัยอย่างมั่นคง พยายามควบคุมรถให้ดีที่สุด
  3. ถอนคันเร่งออกช้า ๆ จากนั้นแตะเบรกเบา ๆ เพื่อลดความเร็ว เน้นเหยียบเบรกถี่ ๆ ห้ามเหยียบเบรกแรง เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้
  4. ห้ามดึงเบรกมือโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้รถหมุนจนเกิดการพลิกคว่ำ
  5. ในระหว่างที่รถกำลังลดความเร็วให้เปิดไฟสัญญาณ แล้วค่อย ๆ นำรถเข้าข้างทางจนรถหยุดนิ่งในที่สุด


นอกจากยางรถยนต์ที่เราต้องคอยดูแลเป็นประจำแล้ว แบตเตอรี่ก็ถือเป็นหัวใจสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่เราไม่ควรมองข้าม หากคุณเป็นเจ้าของรถสายจอดนาน คุณก็ควรใช้เครื่องชาร์จแบตรถยนต์ชาร์จไฟให้เต็มอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้แบตเตอรี่เสื่อมก่อนเวลาอันควร เพราะตัวแบตเตอรี่จะคายประจุไฟตลอดเวลาในช่วงที่เราไม่ได้ขับ ทำให้ไฟในตัวแบตอ่อนลงเรื่อย ๆ จนทำให้เกิดปัญหารถสตาร์ทไม่ติด ซึ่งถ้าหากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน แบตเตอรี่ก็จะเริ่มเสื่อมสภาพและไม่สามารถใช้งานได้ในที่สุด

มาป้องกันปัญหาแบตเตอรี่เสื่อมจากการจอดนานที่ต้นเหตุ ด้วยเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ CTEK MXS 5.0 และ CTEK XS 0.8 เครื่องชาร์จแบตเตอรี่อัจฉริยะที่ขายดีที่สุดในท้องตลาด เทคโนโลยีลิขสิทธิ์เฉพาะจากประเทศสวีเดน ใช้งานง่าย ปลอดภัย รับประกัน 5 ปี ไม่ต้องมีความรู้เรื่องช่างก็สามารถใช้งานได้ในทันที มาพร้อมกับระบบตัดไฟอัตโนมัติเมื่อชาร์จเต็ม สามารถชาร์จทิ้งไว้ได้เป็นเดือน ๆ โดยไม่ทำให้แบตเตอรี่เสีย เป็นมิตรกับระบบไฟฟ้าภายในตัวรถอย่างแน่นอน

 

ดูแลรถยนต์ของคุณก่อนสาย เริ่มต้นชาร์จแบตเตอรี่ตั้งแต่วันนี้ด้วย CTEK จากสวีเดน สั่งซื้อเลย!

พิเศษ! สั่งซื้อตอนนี้รับโปรโมชันราคาพิเศษทันที


CTEK MXS 5.0


ขอบคุณข้อมูลจาก

autospinn.com
groovythailand.com
eyefleet.co

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้