แบตมีกี่ประเภท 7 ประเภทแบตเตอรี่ที่เจ้าของรถควรรู้

Last updated: 29 มี.ค. 2567  |  64309 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ประเภทแบตเตอรี่รถยนต์

แบตเตอรี่ถือเป็นชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์ ที่ทำหน้าที่เก็บสำรองพลังงานไฟฟ้าและคอยจ่ายไฟไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ ของตัวรถ เพื่อให้เครื่องยนต์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถทำงานได้ตามปกติ โดยแบตเตอรี่รถยนต์ที่ถูกใช้งานในปัจจุบันนั้นก็มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน ซึ่งแบตฯแต่ละประเภทต่างก็มีข้อดีและจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป วันนี้ APRTECH จึงอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับแบตเตอรี่ทั้ง 7 ประเภทกันครับ ว่ามีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่โดดเด่นและแตกต่างกันอย่างไร

1.แบตเตอรี่น้ำ (WET)

แบตเตอรี่น้ำ

ที่มา : gsbattery.co.th

แบตเตอรี่น้ำ คือ แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรดที่ถูกใช้งานในรถยนต์ทั่วไป มีส่วนประกอบภายในคือโลหะผสมระหว่างตะกั่วกับพลวง แบตเตอรี่ชนิดน้ำเป็นประเภทแบตเตอรี่ที่เหมาะสมกับคนที่ใช้งานรถเป็นประจำ มีเวลาในการดูแลรักษารถ เพราะต้องคอยตรวจสอบและเติมน้ำกลั่นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเสมอ หากละเลยขาดการดูแล แบตเตอรี่ก็จะมีปัญหาและมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าปกติ

ข้อดีของแบตเตอรี่น้ำ

  • ราคาถูกเนื่องจากเป็นแบตเตอรี่มาตรฐานที่ถูกใช้งานในรถยนต์ทั่วไป
  • มีอายุการใช้งานที่ยาวนานหากมีการดูแลรักษาแบตเตอรี่ที่ถูกต้อง 
  • มีความทนทานต่อการประจุไฟเกินและคายประจุ

ข้อเสียของแบตเตอรี่น้ำ

  • ต้องคอยตรวจเช็กและเติมน้ำกลั่นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเสมอ
  • มีค่าแอมป์และค่า CCA ที่ต่ำกว่าแบตเตอรี่แห้งและแบตเตอรี่ชนิดอื่น ๆ (ในบางรุ่น)
  • อาจมีการรั่วไหลของสารละลายภายใน หากเคลื่อนย้ายตัวแบตฯอย่างไม่ถูกต้อง

 

2.แบตเตอรี่แห้ง (SMF)

แบตเตอรี่แห้ง

ที่มา : batterymittapap.com

แบตเตอรี่แห้งถือเป็นประเภทแบตเตอรี่ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะมันเป็นแบตเตอรี่ที่ใช้งานง่าย ดูแลง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นตลอดอายุการใช้งาน ทำให้เหมาะกับเจ้าของรถที่ไม่มีเวลาในการดูแลรักษา ตอบโจทย์ชีวิตผู้คนในยุคปัจจุบันมากที่สุด แต่ตัวแบตฯมีราคาค่อนข้างสูง แพงกว่าแบตเตอรี่น้ำและแบตเตอรี่กึ่งแห้งในระดับหนึ่ง

ข้อดีของแบตเตอรี่แห้ง

  • ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น ใช้งานง่าย ดูแลรักษาง่าย
  • มีค่าแอมป์และค่า CCA ที่สูงกว่าแบตเตอรี่น้ำ
  • มีคุณภาพ ได้รับมาตรฐานเท่ากันทุกลูก เพราะชาร์จไฟและเติมน้ำกรดมาเรียบร้อยจากโรงงานผลิต

ข้อเสียของแบตเตอรี่แห้ง

  • มีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าแบตเตอรี่น้ำและแบตเตอรี่กึ่งแห้ง
  • อาจเกิดปัญหาเรื่องความชื้นเข้าไปในตัวแบตเตอรี่ หากซีลที่ปิดผนึกรระบายอากาศหลุดออก
  • หากรูระบายอากาศของตัวแบตฯเกิดการอุดตัน ก็อาจส่งผลให้เกิดปัญหาแรงดันในตัวแบตเตอรี่ได้

 

3.แบตเตอรี่กึ่งแห้ง (MF)

แบตเตอรี่กึ่งแห้ง

ที่มา : xn--m3can5ai2bue0eh7iek9h.com

แบตเตอรี่กึ่งแห้ง หรือ แบตเตอรี่ MF เป็นแบตเตอรี่ที่มีความคล้ายคลึงกับแบตเตอรี่แห้ง แต่มีรูให้สามารถเติมน้ำกลั่นได้เหมือนกับแบตเตอรี่น้ำ มีอายุการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 3 ปี ไม่จำเป็นต้องดูแลรักษาบ่อยเหมือนแบตเตอรี่น้ำ แค่หมั่นเติมน้ำกลั่นปีละ 1-2 ครั้งก็เพียงพอแล้ว ถือเป็นอีกหนึ่งประเภทแบตเตอรี่ที่ใช้งานง่าย ราคาไม่สูงมาก และมีขั้นตอนการดูแลรักษาที่ไม่ยุ่งยากจนเกินไป

ข้อดีของแบตเตอรี่กึ่งแห้ง

  • ตัวแบตเตอรี่มีการป้องกันการระเหยของน้ำกลั่นภายในเป็นอย่างดี ทำให้ผู้ใช้รถไม่ต้องเสียเวลาเติมน้ำกลั่นบ่อย ๆ
  • ความทนทานสูง มีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างนานแม้จะน้อยกว่าแบตเตอรี่น้ำ
  • ราคาถูกกว่าแบตเตอรี่แห้ง

ข้อเสียของแบตเตอรี่กึ่งแห้ง

  • แม้จะมีการป้องกันการระเหยของน้ำกลั่นเป็นอย่างดี แต่ผู้ใช้รถก็ยังต้องคอยเติมน้ำกลั่นอยู่บ้างตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
  • อายุการใช้งานอาจไม่ยาวนานเท่าแบตเตอรี่น้ำ
  • มีราคาที่สูงกว่าแบตเตอรี่น้ำในบางรุ่น

 

4.แบตเตอรี่ไฮบริด

แบตเตอรี่ไฮบริด

ที่มา : gsbattery.co.th

แบตเตอรี่ไฮบริด เป็นประเภทแบตเตอรี่ที่ถูกพัฒนาขึ้นจากแบตเตอรี่น้ำ มีโครงสร้างภายในประกอบไปด้วยโลหะผสมระหว่างตะกั่วกับแคลเซียมเฉพาะแผ่นธาตุลบ ทำให้อัตราการระเหยของน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ชนิดนี้น้อยกว่าแบตเตอรี่น้ำหลายเท่า เจ้าของรถจึงไม่ต้องเสียเวลาเติมน้ำกลั่นบ่อย เหมาะกับรถที่ใช้งานหนัก ๆ เช่น รถบรรทุก รถโดยสาร หรือรถรับจ้างทั่วไป เป็นต้น

ข้อดีของแบตเตอรี่ไฮบริด

  • มีความทนทานสูง ใช้งานได้ยาวนานโดยไม่ต้องเติมน้ำกลั่นบ่อย ๆ
  • มีค่า CCA ที่สูงกว่าแบตเตอรี่น้ำ
  • ราคาถูกกว่าแบตเตอรี่แห้ง

ข้อเสียของแบตเตอรี่ไฮบริด

  • แม้จะใช้งานได้อย่างยาวนาน แต่เจ้าของรถก็ยังต้องคอยเติมน้ำกลั่นตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
  • มีราคาแพงกว่าแบตเตอรี่น้ำในบางรุ่น
  • มักใช้กับรถขนาดใหญ่มากกว่ารถยนต์ธรรมดาทั่วไป

 

5.แบตเตอรี่เจล (GEL)

แบตเตอรี่เจล

ที่มา : godungfaifaa.com

แบตเตอรี่เจลเป็นประเภทแบตเตอรี่ที่ถูกพัฒนาขึ้นจากแบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด สามารถกักเก็บพลังงานไฟฟ้าได้ดีกว่าแบตเตอรี่ทั่วไปถึง 20% มีคุณสมบัติและประสิทธิภาพโดยรวมเหนือกว่าแบตเตอรี่น้ำ ทำให้ตัวแบตฯมีราคาที่ค่อนข้างสูงและแพงกว่าพอสมควร แบตเตอรี่ชนิดนี้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน มีความทนทานสูง ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นหรือพึ่งพาการดูแลรักษาอะไรที่ยุ่งยาก

ข้อดีของแบตเตอรี่เจล

  • ใช้งานง่าย ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น มีขั้นตอนการดูแลรักษาที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
  • กักเก็บพลังงานได้ดีกว่าแบตเตอรี่น้ำและแบตเตอรี่ชนิดอื่น(ในบางรุ่น)
  • มีความสามารถในการกระจายความร้อนที่ค่อนข้างสูง
  • ทนทานและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าแบตเตอรี่ทั่วไปหลายเท่า

ข้อเสียของแบตเตอรี่เจล

  • แม้จะมีขั้นตอนการดูแลรักษาที่ไม่ยุ่งยาก แต่เจ้าของรถก็ยังจำเป็นต้องหมั่นตรวจเช็กสภาพและทำความสะอาดตัวแบตเตอรี่อย่างสม่ำเสมอ
  • มีราคาแพงกว่าแบตเตอรี่น้ำพอสมควร

 

6.แบตเตอรี่ AGM

แบตเตอรี่ AGM

แบตเตอรี่ AGM เป็นแบตเตอรี่ชนิดใยแก้วที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อรองรับระบบรถยนต์ที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัยและมีประสิทธิภาพสูงในปัจจุบัน ถือเป็นแบตเตอรี่พร้อมใช้งานที่มีการเติมน้ำกรดและอัดไฟมาให้เรียบร้อยจากโรงงานผลิต ไม่ต้องคอยเติมน้ำกลั่น สามารถจ่ายไฟได้อย่างเสถียรและทำงานได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3-6 ปี เรามักจะพบแบตเตอรี่ชนิดนี้ในรถยุโรปรุ่นใหม่ ๆ เสียเป็นส่วนใหญ่ ราคาของตัวแบตฯจึงค่อนข้างแพงและสูงกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่นพอสมควร

ข้อดีของแบตเตอรี่ AGM

  • ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นตลอดอายุการใช้งาน
  • มีค่าแอมป์และค่า CCA อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง
  • สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างเสถียรและคงที่ 
  • มีความทนทานต่อการคายประจุไฟฟ้าที่สูง ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
  • ชาร์จกระแสไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว ลดเวลาในการชาร์จได้หลายเท่าตัวหากเทียบกับแบตเตอรี่ชนิดอื่น

ข้อเสียของแบตเตอรี่ AGM

  • ราคาสูงเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่กรดตะกั่วทั่ว ๆ ไป
  • ต้องหมั่นตรวจเช็กสภาพแบตเตอรี่อย่างสม่ำเสมอ เพราะหากตัวแบตฯมีปัญหา บางอย่างก็ไม่สามารถซ่อมแซมหรือแก้ไขได้ จำเป็นต้องซื้อและเปลี่ยนแบตฯเป็นลูกใหม่เพียงอย่างเดียว

 

7.แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน

แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน

ที่มา : everexceed.com

แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน เป็นแบตเตอรี่ที่ถูกพัฒนาขึ้นให้มีขนาดเล็กและมีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่น ๆ สามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้นานกว่า มีอัตราการชาร์จที่รวดเร็ว พร้อมจ่ายไฟได้อย่างเสถียรและคงที่ อีกทั้งยังไม่มีส่วนประกอบที่เป็นอันตรายต่อธรรมชาติและมนุษย์ เช่น ของเหลว กรด หรือตะกั่ว เราจึงมักพบแบตเตอรี่ประเภทนี้ในรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเสียเป็นส่วนใหญ่

ข้อดีของแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน

  • น้ำหนักเบาเพราะโครงสร้างภายในของตัวแบตฯเป็นโลหะอัลคาไลน์ที่มีน้ำหนักเบาที่สุดในโลก
  • อายุการใช้งานยาวนาน 
  • ให้พลังงานสูง จ่ายไฟได้อย่างคงที่ อีกทั้งยังชาร์จได้รวดเร็ว
  • เป็นเซลล์แห้ง ไม่มีส่วนประกอบที่เป็นอันตรายต่อธรรมชาติและมนุษย์ 

ข้อเสียของแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน

  • เป็นแบตเตอรี่ที่ถูกใช้งานในรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเสียเป็นส่วนใหญ่
  • ราคาสูงกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่นหลายเท่าตัว

 

จะเห็นได้ว่าแบตเตอรี่รถยนต์ที่ถูกใช้งานในปัจจุบันนั้น มีอยู่ด้วยกันหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทต่างก็มีวิธีการดูแลรักษาที่แตกต่างกันออกไป แต่มีอยู่หนึ่งวิธีที่สามารถนำไปใช้ได้กับแบตเตอรี่ทุกประเภทเลยก็คือ การทำให้ไฟในตัวแบตฯเต็มอยู่ตลอดเวลา เพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยการนำรถออกไปขับหรือใช้เครื่องชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์คอยชาร์จไฟให้กับตัวแบตฯอย่างสม่ำเสมอ เพราะตัวแบตเตอรี่นั้นจะคลายประจุไฟตลอดเวลาในช่วงที่เราไม่ได้ขับ ทำให้ไฟในตัวแบตฯอ่อนลงเรื่อย ๆ จนทำให้เกิดปัญหารถสตาร์ทไม่ติด ซึ่งถ้าหากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน แบตเตอรี่ก็จะเริ่มเสื่อมสภาพและไม่สามารถใช้งานได้ในที่สุด 

เพื่อป้องกันปัญหาแบตเตอรี่เสื่อมจากการจอดนาน หากคุณไม่มีเวลานำรถออกไปขับ คุณควรเลือกใช้เครื่องชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ CTEK MXS 5.0, CTEK LITHIUM XS หรือ CTEK CS ONE เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ที่ขายดีที่สุดในท้องตลาด เทคโนโลยีลิขสิทธิ์เฉพาะจากประเทศสวีเดน ใช้งานง่าย ปลอดภัย ไม่ต้องมีความรู้เรื่องช่างก็สามารถใช้งานได้ในทันที ใช้ได้กับแบตเตอรี่รถยนต์ทุกประเภทโดยไม่ต้องเลือกโหมดให้ยุ่งยาก มาพร้อมกับระบบตัดไฟอัตโนมัติเมื่อชาร์จเต็ม สามารถชาร์จทิ้งไว้ได้เป็นเดือน ๆ โดยไม่ทำให้แบตเตอรี่เสีย เป็นมิตรกับระบบไฟภายในตัวรถอย่างแน่นอน 


**สั่งซื้อตอนนี้! รับโปรโมชันราคาพิเศษทันที**


ดูรายละเอียดเครื่องชาร์จ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: motofiixthailand.com, brg.co.th, car.kapook.com, batteryprothailand.com, pongbattery.com, nissan.co.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้